เรื่องค่าประมาณ /ค่าประมาณใกล้เคียง คณิตศาสตร์

ในชีวิตประจำวันของคนเราเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน หรือ ต้องมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เราต้องใช้ค่าประมาณมาช่วยในการคำนวณอย่างคร่าวๆ การประมาณ คือ การหาค่าซึ่งไม่ใช่ค่าที่แท้จริง แต่มีความละเอียดเพียงพอกับการนำไปใช้ การประมาณค่า คือ การคำนวณที่ต้องการคำตอบตัวเลือกอย่างรวดเร็ว เช่น ประมาณ 22.8 ก็จะเป็น 23 หรือ 267 ก็จะประมาณ 270 ซึ่งค่าที่ได้จากการประมาณจะเรียกว่าค่าประมาณ ซึ่งในการประมาณอาจจะใช้หลักการปัดเศษหรืออาจจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์

ตัวอย่างการประมาณค่า

20.12 ประมาณเป็น 20

56.86 ประมาณเป็น 57

54.23 ประมาณเป็น 54

การปัดเศษ

การประมาณค่าอีกวิธีหนึ่งคือการปัดเศษ ซึ่งเราสามารถปัดเศษของจำนวนเต็มและทศนิยมได้ และผลลัพธ์ของการปัดเศษจะได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงจำนวนจริง

การปัดเศษเมื่อเป็นจำนวนเต็ม

หลักการปัดเศษในจำนวนเต็มสิบ

ถ้าหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง เช่น 23 ปัดเป็น 20 หรือ 34 ปัดเป็น 30

ถ้าหลักหน่วยมรค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปให้ปัดขึ้น เช่น  55 ปัดเป็น 62 หรือ 78 ปัดเป็น 80

ในขณะเดียวกันการปัดเศษในจำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ ค่าประมาณที่ใกล้ที่สุดให้เราพิจารณาที่หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น ตามลำดับ คือถ้ามีค่าต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง แต่ถ้ามีค่ามากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น

ตัวอย่างการประมาณค่า

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อยของ 256 คือ 300 ให้พิจารณาที่กลักสิบ ถ้ามีค่าท่ากับหรือมากกว่า  5 ให้ปัดขึ้น

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อยของ 233 คือ 200 ให้พิจารณาที่กลักสิบ น้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มพันของ 2,869 คือ 3,000 ให้พิจารณาที่กลักร้อย ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้ปัดขึ้น

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มพันของ 5,123 คือ 5,000 ให้พิจารณาที่กลักร้อย น้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง